16 ก.ค.63 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก เปิดเผยว่า กกพ.มีมติให้ปรับลดอัตรา ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 63 ลงอีก 0.83 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟเฉลี่ยลดลงเหลือ 3.63 บาท/หน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาท/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ขณะที่ ค่าเอฟที ในปีหน้า งวด ม.ค.-เม.ย. 64 ยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยอ้างอิง ตามต้นทุนราคาน้ำมันย้อนหลัง 6-8 เดือน ทังนี้ ปัจจัยที่มีผลให้ค่าเอฟทีลดลงได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนไทย และโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการเติบโตของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ติดลบมากขึ้นหรือลดลงอย่างไร ซึ่งหาก จีดีพีลดลงทุกๆ 1% จะกระทบให้ การใช้ไฟฟ้าของไทยลดลง 0.7-0.8% ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
จากปัจจัยที่มีผลให้ ค่าเอฟที ลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของคนไทย และตัวเลขของ จีดีพี ที่ ลดลงทุกๆ 1% ส่งผลกระทบให้ การใช้ไฟฟ้าของไทยลดลง รวมทั้ง โควิด-19 ดังนั้น ประชาชนจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ากันเป็นจำนวนมากใช่หรือไม่ ถึงจะทำให้ ค่าเอฟที นั้นลดลง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล วงเงิน 400,000 ล้านบาท จากผลกระทบของ โควิด-19 ที่คาดการณ์กันว่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจที่ติดลบ ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ 0.6-1% วงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท จะช่วยทำให้ จีดีพี ที่ติดลบให้ขยายตัวขึ้นกันได้มากน้อยแค่ไหน?
“กกพ.”มีมติ ลด “ค่าเอฟที” ลง ประชาชนตื้นตันใจจนน้ำตาคลอที่ได้ลดค่าไฟถึง 1 สตางค์/หน่วย.